assignment2

1.จงอธิบายการทำงานของ Internet

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)

อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network)  กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางดโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง

หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่าหมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิด หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไมซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS: Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน

โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ  ดังนี้

1. โดเมนระดับบนสุด  จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่


ทั้งนี้ในกรณีที่เป็นโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่นั้น จะต้องมีโดเมนระดับย่อย เพื่อระบุประเภทขององค์กร

         2. โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทองค์กร

2.เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร

การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เนต

1. เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection) วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่

สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น

อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Router ทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

2. เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง

การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร

3. เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)

3.Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร

 เครือข่ายในบ้าน หรือ Home Network ก็คือเครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง พรินเตอร์ ปาล์มหรือ พ็อคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเป็นต้น

 เทคโนโลยีสำหรับการสร้างเครือข่ายในบ้าน

เครือข่ายในบ้านที่จะกล่าวถึงนี้ จะเน้นเฉพาะหลักการและอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับสร้างเครือข่าย กล่าวคือจะเป็นเรื่องของทางกายภาพนั่นเอง แต่จะไม่กล่าวถึงเรื่องที่จะนำเครือข่ายนี้ไปใช้งานอย่างไร ตัวอย่างเช่น คุณอาจนำไปใช้สร้างเครือข่ายทางตรรกะ (Logical) แบบ Peer-to-Peer หรือ Client-server ก็ได้หรือจะใช้เป็นแบบ Microsoft Networks หรือไม่ก็แล้วแต่ความต้องการของคุณ

การสร้างเครือข่ายเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบ้านคุณ ปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธีในราคาที่ไม่แพงนัก ซึ่งแตกต่างจากในสมัยก่อนมากที่ราคาของอุปกรณ์สำหรับการสร้างเครือข่ายที่ค่อนข้างแพง ไม่เหมาะกับการลงทุน อย่างไรก็ตามบางวิธีที่นำเสนอนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาจึงยังไม่แพร่หลายนัก สำหรับเทคโนโลยีที่คุณสามารถจะเลือกมาใช้ได้มีดังนี้

 ระบบ LAN (Ethernet) แบบสตาร์

วิธีนี้ก็คือการสสร้างระบบ LAN แบบสตาร์ ระบบ LAN แบบนี้นิยมใช้ในบริษัทหรือตามร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วๆไป ถ้าคุณจะนำมาใช้ในบ้านของคุณเองก็ไม่ผิดครับ ผมว่าดีเสียอีก เนื่องจากราคาอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Hub/Switch,การ์ด LAN และสาย UTP ในปัจจุบันค่อนข้างถูกในขณะที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลมากถึง 100 Mbps (จริงๆในปัจจุบันได้ถึง 1000Mbps แต่อุปกรณ์ยังราคาแพงอยู่) ซึงเพียงพอต่อการเล่นเกผ่านระบบ LAN ได้อย่างสบายวิธีนี้พวกร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่นำไปใช้เป็นสูตรสำเร็จในการสร้างระบบ LAN ภายในร้านกันถ้วนหน้า

 ระบบ LAN (Ethernet) แบบบัส

ระบบเครือข่ายแบบนี้ก็คือระบบ LAN แบบบัส ระบบ LAN แบบนี้ไม่ต้องมี Hub/Switch แต่สายที่ใช้จะต้องเป็นสายที่เรียกว่า สาย Coaxial และการ์ด LAN ที่ใช้ต้องเป็นแบบ BNC ซึ่งจะทำความเร็วได้สูงสุด 10 Mbps

 ใช้สาย USB เชื่อมระหว่างพอร์ต USB ของพีซีและ USB Hub

วิธีนี้ใช้ได้กับเครื่องพีซีรุ่นใหม่ๆที่มีพอร์ต USB ติดมาด้วย แต่ถ้าคุณมีพีซีรุ่นเก่าที่ไม่มีพอร์ต USB คุณก็เพียงแต่ไปซื้อการ์ด PCI-USB มาเสียบในสล็อต PCI ได้ในราคาที่ไม่แพง นอกจากนี้คุณก็ต้องมร Hub ชนิดพิเศษที่เรียกว่า USB Hub พร้อมด้วยสาย USB สำหรับความเร็วของการับส่งข้อมูลทำได้สูงสุดที่ 12 Mbps โดยอุปกรณ์เพิ่มเติมที่ต้องใช้ก็คือ USB Hub ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆกับ Hub ในระบบ LAN แบบสตาร์และสาย USB

 HomePNA (Home Phoneline Network) 

คือเครือข่ายที่ใช้สายโทรศัพท์ภายในบ้าน(เหมาะสำหรับบ้านที่มีการเดินสายโทรศัพท์ภายในที่เป็นระบบอยู่แล้วจึงเหมาะที่จะหยิบเอาสายเหล่านั้นมาใช้ ซึ่งบ้านฝรั่งจำนวนไม่น้อยที่ป็นแบบนั้น) ถ้าบ้านคุณยังไม่มีการเดินสายโทรศัพท์แบบมีระบบอยู่แล้วผมแนะนำให้หลีกเลี่ยงครับ เพราะราคาสูงพอๆ กับ LAN 100 MB แต่ได้ความเร็วเพียง 10 MB เว้นเสียแต่ว่าคุณกำลังจะเดินสายโทรศัพท์ใหม่อยู่แล้วก็ได้เลยครับ

HomePNA ในรุ่นแรก (HomePNA 1.0) ทำความเร็วได้ 1 Mbps ส่วนในปัจจุบัน (HomePNA 2.0) ทำความเร็วได้ 10 Mbps สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ก็คือคุณจะต้องมีการ์ดหรือ Adapter ที่ทำหน้าที่คล้ายๆโมเด็มซึ่งมีทั้งแบบภายในหรือภายนอก

 HomePlug หรือ Home Powerline Network

คือเครือข่ายที่รับส่งข้อมูลโดยผ่านสายไฟฟ้าภายในบ้าน วิธีนี้เป็นความคิดที่ดีมากเนื่องจากบ้านทุกหลังแทบจะมีการเดินสายไฟกันไปทั่วบ้านอยู่แล้ว คุณเพียงแต่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอุปกรณ์พิเศษซึ่งต้องเสียบเข้ากับปลั๊กไฟไว้เสมอในขณะที่ใช้งานอยู่ สำหรับวิธีการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์พิเศษนี้ก็มีตั้งแต่การเชื่อมต่อผ่านพอร์ตขนาน (พอร์ตที่ใช้ต่อพริ้นเตอร์) พอร์ต USB หรืออาจจะเป็นการ์ดที่ใช้เสียบในเครื่องโดยเฉพาะ

เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless)

เครือข่ายแบบไร้สายคือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันมีมาตรฐานอยู่ 2 แบบคือ HomeRF (Home Radio Frequency) และ 802.11B

HomeRF    

จัดเป็นมาตรฐานหนึ่งของเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless) ที่ใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล เทคโนโลยีของ HomeRF ในรุ่นแรกๆทำความเร็วได้ 1.6 Mbps แต่ในปัจจุบันสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 10 Mbps สำหรับระยะทำการของ HomeRF คือ 160 ฟุตหรือประมาณ 50 เมตรซึ่งเพียงพอต่ออาณาบริเวณบ้าน แต่ถ้าบ้านคุณใหญ่มากก็คงช่วยไม่ได้ครับ คงต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นๆและสามารถต่ออุปกรณ์ได้ 128 ชิ้น นอกจากนี้ไม่ว่าคุณจะนั่งอยู่ในซอกหรือในมุมอับอย่างไรก็ไม่ขาดการติดต่อตราบใดที่ยังอยู่ในระยะทำการ เนื่องจากคลื่นวิทยุนี้มีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆได้ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผนัง กำแพง เพดาน เป็นต้น

IEEE 802.11B หรือ Wireless LAN (WLAN)   

เทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่เป็นคู่แข่งกับ HomeRF ที่กำลังมาแรงก็คือ IEEE 802.11B หรือที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Wireless LAN ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายๆกับ HomeRF แต่มีระยะทำการไกลกว่าคือ 300 ฟุตหรือประมาณเกือบๆ 100 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุดคือ 11 Mbps และสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้ 128 ชิ้น แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่า HomeRF เหมาะจะใช้ในสำนักงานมากกว่า เทคโนโลยีของ IEEE 802.11B นี้คาดว่าจะชนะเทคโนโลยีแบบ HomeRF ได้ในอนาคตเนื่องจากระยะทำการไกลกว่าในขณะที่ความเร็วก็สูงกว่าด้วย หน่วยงานที่มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีของ IEEE 802.11B คือ Wireless Ethernet Compatibility Alliance หรือ WECA

4.3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร

-3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็น

อุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนําเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman,

กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการ

ระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจํากัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทําให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย

และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

 -ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscribers Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบใหม่ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อ Internet และเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูงโดยใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา ถือเป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดงธรรมดา ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่าผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย)
เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และความเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีความเร็วในการรับข้อมูล สูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที (Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.) ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่ 128/64, 256/128, 512/256 เป็นต้น โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล

คุณสมบัติของเทคโนโลยี ADSL มีดังนี้

1.ความเร็วสูง เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56K ธรรมดากว่า 5 เท่า (256 Kbps.) หรือสูงสุดกว่า 140 เท่าที่ความเร็ว 8 Mbps.
2.การเชื่อมต่อแบบ Always On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
3.ค่าใช้จ่ายคงที่ ในอัตราที่ประหยัด ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง

ความแตกต่างของ3GกับADSL

ADSL ใช้สายในการเชื่อมต่อ ส่วน3Gใช้ระบบไร้สาย

ADSL จะเสถียรกว่า 3G

ADSL ไม่สามารถใช้งานนอกบ้านได้ ใช้ได้แต่ในบ้าน 3G สามารถใช้งานนอกบ้านได้

ADSL เร็วกว่า 3G

ADSL ถูกกว่า 3G

5.IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

IPv6 ย่อมาจาก “Internet Protocol Version 6″ ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป  เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 (“IPv4″)

IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า “IPng” (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระ

การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย

Cloud Computing  Software Development คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้;ระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

Cloud Computing คือ บริการทางอินเตอร์เน็ตที่เป็นแบบการรวบรวมทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นมาเชื่อมโยงไว้ด้วยกัน โดยมีการทำงานสอดประสานกันแบบรวมศูนย์ โดยผู้จัดสรรทรัพยากรนั้นเรียกว่า third-party Provider หรือผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 มีหน้าที่รวบรวมพื้นฐานต่างๆที่จำเป็นเข้าไว้ด้วยกันการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบสารสนเทศแบบเสมือนจริง Cloud Computing จะทำงานโดยเมื่อผู้ขอใช้บริการต้องการใช้สิ่งใดก็ส่งร้องขอไปยังซอฟแวร์ระบบ แล้วซอฟแวร์ระบบก็จะร้องขอไประบบเพื่อจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ขอใช้บริการต่อไป โดยผู้ขอใช้บริการมีหน้าที่เสียค่าใช้บริการเพื่อความสามารถในการทำงานตามต้องการโดยไม่ต้องทราบหรือเข้าใจหลักการทำงานเบื้องหลัง

WebRTC  ชื่อเต็มคือ Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน

มีผลต่อธุรกิจและชีวิตประจำวันอย่างไร

IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย ทำให้ขยายเครือข่ายได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งานในชีวิตประจำวัน และธุรกิจต่างๆ

Cloud Computing เป็นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับกับธุรกิจยุคใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที  ระบบการจัดการทรัพยากรทางด้านไอทีแบบ Cloud Computing ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนระบบไอทีได้ทันทีที่ต้องการตามนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องรอการสั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะโครงสร้างของระบบถูกออกแบบให้ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) ทำให้สามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีที่รองรับการทำงานของ Software และ Application  ที่จำเป็นต่อธุรกิจได้ทันที

ในมุมมองของการทำธุรกิจ การเพิ่มเติมหน่วยงานหรือขยายธุรกิจออกไป จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ระบบไอทีถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการลงทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ถือเป็นการลงทุนที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ชัดเจน ทำให้องค์กรต้องแบกรับภาระต้นทุนค่อนข้างสูง  แต่เมื่อองค์กรเปลี่ยนมาใช้การบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบ Cloud Computing การเพิ่มการใช้งานระบบไอทีจะมีต้นทุนที่ต่ำ ลงเพราะโครงสร้าง Infrastructure ทั้งหมดจะถูกสร้างเป็นระบบเสมือนและสามารถใช้งานได้ทันที ทำให้การตัดสินใจในการต่อยอดทางธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือในกรณีที่องค์กรไม่ต้องการลงทุนทางด้านระบบไอที ก็สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการของ Cloud Service Provider ได้ Cloud Computing จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดต้นทุนทางด้านไอทีได้ในระยะยาว

WebRTC  สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ สามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน ทำให้เกิดความสะดวกในการส่งงานต่างๆ และคุยงานแบบเห็นหน้าไม่ต้องเดินทางมาเจอกัน ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

6.ให้อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

http://krutuk.kkw2.ac.th/2012/?page_id=13

http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean12.html

http://www.oocities.org/u403748/

http://lovelovelover77.wordpress.com

http://inetbangkok.in.th/?p=918

http://suraban.wordpress.com/2011/04/27/ipv6-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

https://sites.google.com/site/korwten/home/fdgltru

http://www.netbright.co.th/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=18

http://www.netbright.co.th/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=18

ใส่ความเห็น